• login
  • register
  • How to
  • product
  • game pc
  • Promotion

Flash banner right

PREY[Review /PC /Xbox One / PlayStation 4 / Spoil]

 

 

หากใครที่ผ่านการเล่นเกมยุคเนต 56k และยุคที่เกมยิงอย่าง Counter Strike ครองตลาด จะทราบว่าในช่วงเวลานั้น ในแวดวงของการพัฒนาเกม PC นั้น จะเทน้ำหนักไปที่เกมยิงแหลกแจกกระสุน ทั้งแบบเน้นเนื้อเรื่อง หรือเน้นเอามันส์ออนไลน์กระตุกๆก็ตาม มีหลายเกมที่ประสปความสำเร็จ และหลายๆเกมก็แป้กสนิท

 

Prey (12)

และนี่คือเกมเดินหน้ายิงสุดมันส์ ที่ว่ากันว่า “แป้กสนิท” (แอดมินว่าสนุกนะ สมัยนั้น แต่นักวิจารณ์ไม่ชอบซะงั้น!?) แต่ในปี 2017 เกมดังกล่าวก็ได้รับโอกาสให้ทำการ Reboot อีกครั้ง ในชื่อที่เหมือนกับเกมต้นฉบับ ไม่มีตัวเลขภาคต่อใดๆที่ชื่อว่า “PREY” และก็ทำได้ดีเกินความคาดหมายซะด้วย!!

 

 

เกมนี้คือ!?


PREY เป็นเกมเดินหน้ายิง จากทีมงาน Arkane Studios และจัดจำหน่ายโดย Bethesda Softworksโดยเกมนี้จะเป็นเกมรีเมค ที่เล่าเรื่องราวใหม่ที่ต่างจากฉบับเดิมที่เล่าถึง “ทอมมี่” อินเดียนแดงหนุ่มที่ต้องตามไปช่วยแฟนสาวจากการลักพาตัวของเหล่าเอเลี่ยน โดยมีวิญญาณบรรพบุรุษชาวอินเดียนแดงคอยช่วยเหลือ นำทางในยานอวกาศสุดพิศวงที่เต็มไปด้วยประตูวาร์ป ชวนปวดหัว

 

 

แม้ว่าจะสร้างความแปลกใหม่ให้กับการเล่นเกมในยุคนั้น แต่ด้วยความยาก และความเวียนหัวชวนอ้วกพุ่ง ก็เลยโดนนักวิจารณ์มากมายซะอย่างนั้น แต่กับฉบับรีเมคนี้ จะไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับภาคเก่าก่อนแม้แต่น้อย โดยภาคนี้ทีมงาน Arkane Studios ได้ระบุว่าจะใส่ความเป็นไซ-ไฟ / จิตวิทยา และความสยองขวัญแบบเดียวกับ Resident Evil ภาคแรกเข้ามาแทนที่ความงงชวนเวียนหัว

 

Prey (16)

 

เนื้อเรื่อง(มีสปอยล์)

ข้ามไปอ่านรีวิวทันที คลิก

Prey  2017 review (2)

จุดขายสำคัญของเกมนี้อยู่ที่เนื้อเรื่องที่น่าติดตาม โดยเนื้อหาของเกม PREY จะเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากการลอบ สังหารประธานาธิบดี จอนห์ เอฟ เคเนดี้ ประสบความล้มเหลวในปี 1963 โครงการพัฒนาด้านอวกาศถูกระดมงบอย่างบ้าคลั่ง เพื่อนำพามนุษยชาติ ไปแตะขอบฟ้า ทะลุชั้นบรรยากาศ และค้นหาความลับของเผ่าพันธุ์อื่นในจักรวาลต่อไป

Prey  2017 review (3)

 
 

แต่ทว่า มนุษย์ต่างดาว Typhon (ไทฟูน) ที่เกิดจากการวิจัย และรวมสปีชี่ส์ต่างๆในอวกาศ ก็ได้รวมกันเข้าโจมตีโลก ทำให้สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศชาติพันธมิตรได้เข้าร่วมกันจัดตั้งกองกำลังพิเศษ เพื่อสู้รบและจับกุมพวกไทฟูนอย่างลับๆ และยังร่วมกันพัฒนาสถานีอวกาศนานาชาติ Kletka (เคล๊ทค่า ภาษารัสเซียแปลว่า “กรงขัง”) ซึ่งก็ตรงตามชื่อ เพราะมันมีไว้เพื่อกักขังพวกไทฟูนที่จับมาได้

 

 Prey (13)

แต่ทว่า ในช่วงปี 1964 ปีที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย และคืนเอกราชให้กับประเทศในเครือ ทำให้สถานีอวกาศ Kletka ตกอยู่ในอำนาจการดูแลของสหรัฐอเมริกาแต่เพียงผู้เดียว และยังได้นำเอาสถานีอวกาศ Kletka มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของ “Project Axiom” เพื่อการทดลอง วิเคราะห์จุดอ่อน หรือต่อยอดเทคโนโลยี 

 

จนกระทั่งช่วงปี 80 ก็เกิดอุบัติเหตุที่เรียกว่า “Pobeg Incident” ที่อยู่ๆพวกไทฟูนที่หลุดจากการทดลองออกอาละวาด และฆ่านักวิทยาศาสตร์ตายเรียบวุธ ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯจำต้องปิดโครงการดังกล่าว และเก็บเรื่องนี้ไว้ในลิ้นชักเอกสารของรัฐบาลตลอดกาล…

 

Prey  2017 review (1)

จนกระทั่งปี 2025 บริษัท TranStar Corporation ได้เข้ามารับช่วงต่อ และรับเหมาเอาโครงการนี้ไปพัฒนาต่อในนามของเอกชน และรัฐบาลสหรัฐเลือกที่จะยกกรรมสิทธิ์ให้ แต่แลกกับการปฏิเสธความรับผิดชอบใดๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนี้ (พูดง่ายๆ ขายแล้ว รับผิดชอบกันเอง อเมริกันไม่เกี่ยว!!)

 

 

Prey  2017 review (5)

หลังจากนั้น 5 ปี ก็มีการเปิดโครงการ Talos I ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยที่ดำเนินงานเต็มรูปแบบเพื่อศึกษาพฤติกรรม และโครงสร้างของพวกไทฟูน  โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านประสาทวิทยา จนนำไปสู่การสร้าง Neuromods (ประสาทเทียมที่ได้รับการปรับแต่ง) เพื่อปรับโครงสร้างสมองของมนุษย์ เพื่อให้ผู้ใช้ความสามารถใหม่ๆราวคุ้นชินกับสิ่งนั้นๆเป็นเวลานานๆ…

 

Prey  2017 review (4)

หลังจากประสบความสำเร็จจากการขาย  Neuromods บนโลกทำให้ปี 2035  บริษัท TranStar Corporation  มีการขยายสถานีเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของพนักงานที่ใช้เวลาสองปีบนสถานี 

Prey (14)

ผู้เล่นจะได้รับบทเป็น“Morgan Yu” (มอร์แกน หยู) ชายผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากพี่ชายของเขา“Alex Yu” (อเล็กซ์ หยู) ให้มาเข้าร่วมทีมวิจัยของ TranStar Corporation  สังกัดยานสำรวจอวกาศ Talos I (ทาลอส วัน) ที่มีกำหนดแล่นผ่านรอบวงโคจรของดวงจันทร์ อย่างไรก็ตามในขณะที่ทำการทดสอบก่อนที่จะออกจากสถานี แห่งหนึ่งที่ถูกโจมตีโดย พวกไทฟูน  และตัวมอร์แกน ก็ได้รับแก๊สบางอย่างจนหมดสติไป

 

Prey  2017 review (6)Prey  2017 review (7)

 …เขาตื่นขึ้นมาอีกครั้งในอพาร์ทเม้นท์เขา แต่ก็พบว่าพาร์ทเมนท์แห่งนั้น ก็เป็นเพียงสภาพแวดล้อมจำลองที่ถูกจัดฉากขึ้น และพวกเขาได้รู้ความจริงว่า ได้มาอาศัยอยู่ในสถานี Talos I เป็นเวลาสามปีแล้ว และมอร์แกนก็ได้รับการติดต่อจาก “January” (แจนยัวอารี) ปัญญาประดิษฐ์ที่อ้างว่าถูกสร้างขึ้นโดยตัวของมอร์แกนเอง 

 

Prey  2017 review (10)

โดยแจนยัวอารี ได้เตือนมอร์แกนว่าตอนนี้พวกไทฟูนที่ถูกขัง ได้หลุดออกมาและเข้ายึดสถานีได้สำเร็จ แถมลูกเรือส่วนใหญ่ถูกฆ่าตาย และยังพบว่าตัวของมอร์แกนเองก็เคยได้รับการทดลองใช้ Neuromods  (ประสาทเทียมที่ได้รับการปรับแต่งทั้งการนำเข้าสู่ร่างกาย และการนำออกจากร่างกายซ้ำไปซ้ำมา จนเกิดผลข้างเคียงที่เลวร้าย นั่นก็คือความทรงจำของเขาจะขาดๆหายๆ นอกจากนี้แจนยัวอารียังยืนยันว่า มอร์แกนได้สร้างมันเพื่อทำลายทุกอย่างที่อยู่บน Talos I 

 

Prey  2017 review (11)

ในระหว่างที่เดินทางไปทั่วยาน มอร์แกนก็ได้รับการติดต่อจากจากพี่ชายของเขา อเล็กซ์ ได้ขอร้องให้เขาสร้าง Nullwave device เพื่อขับไล่พวกไทฟูนออกไปโดยที่ตัวสถานีเสียหายน้อยที่สุด โดยอเล็กซ์ให้เหตุผลว่า งานวิจัยต่างๆที่อยู่บนสถานีแห่งนี้มีมูลค่ามาก และจะเสียมันไปไม่ได้

 

Prey  2017 review (12)

ขณะที่มอร์แกนเดินผ่านโซนต่างๆภายในสถานีแห่งนี้ เขาก็ได้เจอกับผู้รอดชีวิตคนอื่นๆ ที่ซ่อนตัว โดยมอร์แกนสามารถเลือกได้ว่าจะช่วยเหลือหรือไม่ก็ได้ นอกจากนั้นเขายังได้ค้นพบว่าพวกไทฟูนกำลังมีแผนการที่จะขยายระบบเครือข่ายประสาทการรับรู้ (neural network) พร้อมๆกับการแทรกแซงของทางผู้บริหารของบริษัท TranStar Corporation ที่ได้ส่งหน่วยเก็บกวาดมาที่สถานีนี้ โดยมีจุดหมายคือการกวาดล้างพวกไทฟูน และทุกคนที่เกี่ยวข้อง แม้กระทั่งผู้รอดชีวิต เพราะต้องการกลบเกลื่อนความล้มเหลวในการควบคุมพวกไทฟูน และการวิจัย Neuromods ที่ละเมิดสิทธิมนุษย์อีกด้ย

Prey  2017 review (14.2)

การต่อสู้กับหน่วยกวาดล้างของมอร์แกน อเล็กซ์ได้วิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมและได้พบว่าพวกไทฟูน กำลังส่งสัญญาณเข้าไปยังอวกาศอันแสนไกล เพื่อเรียกบางสิ่งบางอย่าง และไทฟูนขนาดมหึมาก็ได้ปรากฏขึ้น และค่อยๆกัดกินสถานี Talos I ทีละน้อย

 

Prey  2017 review (20)

ถึงจุดนี้ ผู้เล่นจะได้รับตัวเลือกในการตัดสินใจ ว่าจะเปิดใช้งานระบบทำลายตนเองของสถานี หรือจะ สร้างอุปกรณ์ Nullwave device เพื่อจัดการกับพวกไทฟูนได้

-ถ้าเลือกใช้ Nullwave device ตัวเกมก็จะจบลงด้วยการขับไล่พวกไทฟูนออกจากสถานีทั้งหมด โดยที่โครงการ เอกสารต่างๆยังอยู่ครบดี 

 

Prey  2017 review (16)

-ถ้าเลือกเปิดใช้งานระบบทำลายตนเองของสถานี ทุกอย่างจะถูกทำลายทิ้ง โดยตัวมอร์แกนเองก็ยังสามารถเลือกหาทางหนี หรือจะสละชีพตนเพื่อกำจัดไทฟูนก็ได้..

 

 

–จบเกม–

 

หลังจบ End Credit 

Prey  2017 review (17)

หลังจบเครดิต มอร์แกนก็ฟื้นขึ้นมา แล้วก็พบว่าตัวเองกำลังถูกมัดติดกับเก้าอี้ ซึ่งที่นั่นอเล็กซ์ก็อยู่ด้วย พร้อมกับการวิพากษ์วิจารณ์จากเหล่าผู้รอดชีวิตถึงพฤติกรรมตลอดเวลาบนสถานี…

 

หลังจากนั้น เขาก็พบว่า ตัวเองไม่ใช่ “มอร์แกน หยู ตัวจริง” แต่เป็น “ไทฟูน” เอเลี่ยนที่รับเอาความทรงจำของมอร์แกน“บางส่วน”เข้ามาในตัว จนเชื่อว่าตัวเองคือมอร์แกนตัวจริง…ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มอร์แกนตัวจริงได้ตายไปในความพยายามที่จะสอนเรื่องอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งมันเป็นช่วงเวลาก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ในสถานีอวกาศ Talos I ด้วยซ้ำ!  จะเรียกเขาว่า “ไทฟูนมอร์แกน” ก็ไม่ผิดนัก

Prey  2017 review (18)

นอกจากนั้น อเล็กซ์ ยังได้บอกกับไทฟูนมอร์แกน ว่าโลกกำลังเผชิญวิกฤติอย่างหนักจากการถูกรุกรานโดยพวกไทฟูน และตอนนี้ทางออกเดียวของมนุษยชาติ ก็คือการสอนพวกไทฟูน ให้เรียนรู้เกี่ยวกับจิตสำนึกของมนุษย์และทำหน้าที่เป็นทูตระหว่างทั้งสองสายพันธุ์

 

และเหล่าผู้รอดชีวิต จะตัดสินชะตากรรมของ ตลอดเวลาการเล่นเกม ไทฟูนมอร์แกน ซึ่งถ้าในการเล่น ผู้เล่นได้แสดงความโหดเหี้ยม ไม่ช่วยคน ไม่แยแสต่อภารกิจเสริมรายทาง ไทฟูนมอร์แกนจะถูกกำจัด และเริ่มต้นการทดลองใหม่อีกครั้ง

Prey  2017 review (19)

แต่กลับกัน ถ้าผู้เล่นได้แสดงความอ่อนโยนเป็นมิตร และตั้งใจเล่นทั้งเควสหลัก เควสเสริม ก็จะได้รับการยอมรับ และข้อเสนอ สองตัวเลือก ดังนี้

Kill Them All - ไทฟูนมอร์แกน เลือกที่จะฆ่าทุกคน สั่งปิดระบบสื่อสารทั้งหมด และเริ่มแผนการครองโลกด้วยตัวเอง

Take Alex Hand –  ไทฟูนมอร์แกน เลือกที่จะเป็นสะพานเชื่อมสองเผ่าพันธุ์ให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ และก้าวไปสู่อนาคตของโลกที่ดีกว่าเดิม

 

–อวสาน–

 

 

Gameplay

Prey (18)

การเล่นเกมนี้เผินๆแล้วจะเหมือนเกมเดินหน้ายิง FPS ทั่วๆไป ซึ่งจริงๆแล้วก็ถูกเพียวครึ่งเดียวครับ เพราะเนื้อแท้ของเกมนี้คือเกมเดินหน้ายิงที่มีส่วนผสมของ Survival Horror (แบบ Resident Evil ยุคแรกๆ / Dead Space) และมีความเป็น RPG มาปนด้วยแบบ Dishonored (แหงล่ะ ทีมสร้างเดียวกันเนอะ!) ทำให้ Gunfight หรือการพบเจอศัตรูในเกม เป็นอะไรที่ยาก บีบคั้นหัวใจอย่างมาก ด้วยทรัพยากร กระสุน พลังชีวิต ล้วนถูกจำกัด ซัดมั่วๆไม่ได้แน่นอน! 

 

Prey  2017 review (9)

อาวุธ กระสุน ไอเทม ถูกจัดวางเป็นช่องสล๊อตที่ชวนนึกถึง Resident Evil 4  

 

Prey (9)

บรรยากาศหลอนๆ ทางแคบๆ และการมาของพวกเอเลี่ยนที่ชวนให้ขวัญผวา ก็มีให้เห็น และพวกมันฉลาดมาก และกวนส้นTeen มากๆเช่นกัน พวกมันรู้จักหลบกระสุน หลีกกับดัก และหนีไปตั้งหลักเมื่อเสียเปรียบ ด้วยความเร็วระดับ “วาร์ป” (คือมันวาร์ปไปจริงๆ ไม่ได้เล่นคำแต่อย่างใด!) รวมไปถึงการโอบเข้าตีผู้เล่นแบบ Sandwich ก็มีให้เห็น เรียกว่า AI เขียมาดี และตึงมือมากๆเวลาพวกมันมากันเกิน 2 ตัวขึ้นไป!

 

Prey  2017 review (22)
ความสามารถพิเศษของตัวพระเอกในเกมนี้ ก็คือการหยิบยืมเอาความสามารถของเอเลี่ยนแต่ละแบบมาใส่ไว้ในตัว ผ่านการอัพเกรด “ยีนเอเลี่ยน” รวมไปถึงสกิลการซ่อม สกิลการสร้างไอเทมต่างๆที่อยู่บนยานได้ ซึ่งไอเทมแต่ละอย่างก็ต้องพึ่งพาค่าความสามารถด้านต่างๆที่ระบุเฉพาะทาง อีกด้วย

 

 

Prey  2017 review (26)Prey  2017 review (21)

ยีนเอเลี่ยน ได้จากการสแกนด้วยกล้องส่องเอเลี่ยน แล้วตัวเกมจะทำการถอดรหัสพันธุกรรมแล้วก็กลายเป็นสกิล แปลกๆ เช่นการแปลงร่างเป็น”แก้วน้ำ” หรือของเหลวเพื่อข้ามสิ่งกีดขวางได้!

 

Prey  2017 review (23)

การสร้างไอเทมภายในเกม จะเป็นการเอาซากได้จากการดรอปศพเอเลี่ยน ไปย่อยเป็นวัตถุดิบผ่านเครื่องย่อย แล้วเอาวัตถุดิบไปย่อยเป็น Neuromods ด้วยเครื่องคราฟท์Mod อีกที เพื่ออัพสกิล หรือจะเอาไปคราฟท์เป็นไอเทมผ่านเครื่องคราฟท์ไอเทมก็สามารถทำได้ ซึ่งในช่วงแรกๆ เราจะเจอเครื่องคราฟท์พังๆ เราก็ต้องซ่อมก่อนใช้งาน ในส่วนนี้แลดูวุ่นวายใช้ได้เลย ไม่รู้จะทำให้ซับซ้อนอะไรมากมาย

 

Prey  2017 review (8)Prey  2017 review (25)

อาวุธปืนในเกมนี้เป็นของที่มีค่อนข้างจำกัดจำเขี่ย ยิงแต่ละนัดคิดให้ดีว่าจะยิงเพื่ออะไร หยุด หรือ ฆ่า…แต่แนะนำให้เน้นการทำคอมโบ ปืนยิงกาวซีเมนต์ GLOO เพื่อแช่ชิ้นส่วน แล้วเอาประแจไล่ทุบเอาจะประหยัดกว่า  

 

 

 

 

 

Review  8/10 Rank B

เนื้อเรื่อง 3/3 , เกมเพลย์ 2/3 , งานภาพ 2/3 , ความชอบ 1/1

เหมือนเกมแนวยิงในอวกาศ จะเป็นเทรนด์การทำเกมยุคนี้ไปแล้วหว่า!?

 

เป็นเกมเดินหน้ายิงที่เหมือนจะไม่มีอะไร และออกจะนอกสายตาสุดๆ บวกกับชื่อเสียงที่แสนจะเจ็บช้ำของทีมงาน Arkane Studios / Bethesda Softworks ที่มี่วนในการผลักดัน Dishornored 2 ที่ทำออกมาต่ำกว่ามาตรฐาน แต่พอมาถึงเกม Prey ที่เป็นเกมรีเมค ตีความใหม่จากเกมเก่าที่เคยโดนสับเละ เรียกว่าต้นทุนไม่ดีนัก แต่เหล่านักพัฒนาคงจะทำการบ้านมาหนักมาก ถึงได้ทำเกมนี้ออกมา ถึงจะยังไม่ดีที่สุด แต่ก็สนุกเกินความคาดหมายพอสมควรครับ

 

Prey (1)

สิ่งที่จะนับเป็นจุดขายอย่างจริงจังของเกมนี้คือ “เนื้อเรื่อง” ที่ทีมพัฒนาค่อนข้างละเมียดเอาใจใส่กับการวางบท การเล่าเรื่อง การแฝงปม ปริศนาต่างๆของเนื้อเรื่องผ่านทาง Chat Log ที่สามารถหาได้ในเกม (บางท่านขี้เกียจอ่าน หรือไม่เก็บแบบลงลึกก็ไม่ว่ากัน) ตัวละครมีพัฒนาการ ปริศนา และยังสามารถตั้งคำถามให้กลับไปคิดต่อได้ ไม่ว่าจะจบแบบไหนก็ตาม…เชื่อว่าบางอย่างที่นยังไม่เคลียร์ในเกมนี้ อาจจะไปเฉลย ขยายความ ต่อยอดไปภาคต่อๆไป (ถ้าขายดี แล้วได้ไปต่อนะ)

 

Prey  2017 review (28)

เกมเพลย์ของเกมนี้ค่อนข้างออกไปทาง Survival Action + ไขปริศนานิดๆ มากกว่าเกมเดินหน้ายิงอย่างที่กล่าวไปแล้ว เพราะศัตรูในเกมนี้ค่อนข้างอึด มีความไว และฉลาดเอาเรื่องเลย เสียอย่างเดียวคือพวกมันดูเหมือนๆคล้ายๆกันหมด ไม่ค่อยหลากหลายเท่าไหร่

 

Prey  2017 review (29)

แล้วพวกนึกจะโผล่มาก็มาเอาดื้อๆเลย พร้อมกับเพลงประกอบชวนสะดุ้งมากๆ (แล้วก็มาเป็นแนวเทคโนสนุกๆในตอนดวลกัน)อาวุธแต่ละชิ้นจึงมีความสำคัญมากๆ  และก้น่ารำคาญมากๆเช่นกันในส่วนของการสร้างไอเทม คราฟท์ของ ต้องวิ่งไปๆมาๆหาตู้ผสมของโน่นนี่ บางทีก็น่าเบื่อเหมือนกัน 

0 item total: 0 บาท