• login
  • register
  • How to
  • product
  • game pc
  • Promotion

Flash banner right

วิธีการถ่ายรูป Screenshot ให้สวยเหมือน Official มาเอง (PC)

 ในยุคสมัยนี้วงการเกมได้รับการพัฒนาไปหลายขุมไม่ว่าจะเป็นระบบการเล่น เนื้อเรื่องและรายละเอียดในเกมที่นับวันยิ่งพัฒนาไปไกล แต่สิ่งหนึ่งที่มีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัดคือกราฟิกในเกม ที่นับวันยิ่งสวยขึ้นจนบางครั้งเราอยากจะแบ่งปันภาพในเกมที่สวยงามให้กับทุก ๆ คนได้รับรู้ วันนี้เราจึงจะมาแนะนำวิธีการถ่ายรูป Screenshot ให้สวยงามปาน Official มาเอง

เลือกเครื่องมือให้เหมาะสม

ช่างภาพยังต้องมีกล้องคู่ใจทำให้เกมเมอร์ต้องหาโปรแกรมถ่ายภาพคู่ใจเช่นกัน ซึ่งโปรแกรมที่จะแนะนำต่อไปนี้มีข้อดีและข้อเสียให้เกมเมอร์เลือกใช้ตามเกมที่เหมาะสม

  • Plays.tv : โปรแกรมถ่ายรูปที่ใช้ง่ายมาก โดยโปรแกรมจะ Record ทุกครั้งที่เราเข้าเกมแบบอัตโนมัติ ซึ่งหลังจากการอัปเดตในเดือนมีนาคม 2019 ที่ผ่านมาโปรแกรมก็สามารถถ่าย Screenshot ได้
  • Fraps : โปรแกรมในตำนานที่นักแคสเกมทุกคนต้องเคยลองใช้มาไม่มากก็น้อย ซึ่งโปรแกรมนี้หากจะใช้ครบทุกฟังก์ชันต้องจ่ายเงิน แต่ถือว่าเป็นโปรแกรมที่ดีสำหรับใครที่ต้องการกดปุ่ม Screenshot เฉย ๆ ไม่อยากได้วิดีโอ
  • MSI Afterburner: โปรแกรมสำหรับการ Overclock แต่สามารถที่จะถ่ายภาพได้ในรูปแบบของนามสกุล .bmp, .jpg, และ .png นอกจากนี้โปรแกรมยังสนับสนุนการถ่ายรูปใน Direct X 12 ทั้งฝั่ง Nvidia และ Amd อีกด้วย
  • GeForce Experience : โปรแกรมสารพัดประโยชน์ของคนใช้การ์ดจอค่ายเขียว ที่มาพร้อมกับฟังก์ชันครบครันทั้งการถ่ายภาพ อัดวิดีโอหรือแม้กระทั่งสตรีมก็ยังได้
  • AMD ReLive : โปรแกรมของทางฝั่งค่ายแดงที่มีความสามารถคล้ายกับ GeForce Experience
  • Windows 10 Game Bar : ความจริงโปรแกรมที่ติดตั้งมาใน Windows 10 อยู่แล้ว สามารถเปิดได้โดยการกดปุ่ม Windows+G ในการเรียกใช้โปรแกรม ซึ่งส่วนมากใช้ในการ

โดยหากเกมเมอร์คนไหนอยากถ่ายรูปในเกมแบบ 4K (1080p)  ผ่านการ์ดจอของ Nvidia ผ่านการใช้ DSR ก็สามารถที่จะใช้ฟังก์ชัน Ansel ในโปรแกรม GeForce Experience แทนได้ ที่สามารถเซฟออกมาในรูปแบบของไฟล์ .RAW ได้ พร้อมสามารถปรับแต่งได้อย่างหลากหลายตามใจต้องการ

ปิด HUD

สำหรับการที่เราจะถ่ายรูปในเกมแล้ว เราไม่ได้ต้องการที่จะให้เห็นองค์ประกอบที่เราจะพบเจอ ดังนั้นเราไม่อยากที่จะให้องค์ประกอบอื่น ๆ มาบดบังในส่วนที่เราต้องการจะสื่อ ดังนั้นเราควรปิด HUD ให้หมดรวมถึงโปรแกรมต่าง ๆ ที่อาจจะมาขัดในขณะถ่ายรูปได้ ดังนั้นเราควรที่จะปิดทุกอย่างยกเว้นโปรแกรมที่ใช้ถ่ายภาพ

คิดแบบช่างภาพ

สิ่งที่ต่างกันระหว่างคนถ่ายภาพกับช่างภาพคือ การทำให้ภาพที่ถ่ายออกมามีชีวิตและเป็นศิลปะตามสไตล์ของช่างภาพคนนั้น ๆ  โดยให้เราอย่ามองเพียงแค่การนำเสนอแต่ความสวยของเกมอย่างเดียว แต่ให้นำเสนอองค์ประกอบของภาพมากกว่าซึ่งหากเรายังนึกไม่ออกก็ลองหา Reference ภาพถ่ายในชีวิตประจำวันแล้วนำไปปรับใช้ในเกม

Rule of thirds

Rule of thirds หรือ กฎสามส่วนเป็นสิ่งที่เหล่าช่างภาพนำมาใช้ในการจัดองค์ประกอบของภาพให้มีความสมดุลกัน โดยให้เราแบ่งภาพออกเป็นกรอบ 4 เหลี่ยม 9 ช่อง ซึ่งกฎนี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่ภาพถ่ายวิวในเกมไปจนถึงภาพถ่ายส่วนบุคคล หากเราจัดองค์ประกอบภาพได้ดี ๆ รูปของเราจะออกมาสวยมาก

Field of view

Field of view หรือขอบเขตของภาพในสายตาของเรา ซึ่งการถ่ายภาพในเกมนอกจากองค์ประกอบที่ครบแล้ว เราควรที่จะจัดภาพให้เหมาะสมกับสายตาเรา โดยเราอาจจะขยาย FOV เพื่อให้ได้ภาพที่ดีขึ้นหรือสามารถใส่องค์ประกอบให้ครบได้ นอกจากนี้ FOV ยังทำให้เราสามารถดูภาพได้อย่างสบายตาอีกด้วย

 

รูปจากเกม Star Wars: battlefront 2 จากคุณ Larah Johnson ใน flickr

 

ปรับโพกัสของภาพให้ชัดเจน

สำหรับบางเกมแล้วภาพในเกมที่เราถ่ายผ่าน Screenshot อาจจะมีองค์ประกอบมากเกินไป ทำให้เราจะต้องเลือกที่จะตัดองค์ประกอบที่ไม่สำคัญออก ให้เหลือเฉพาะที่เราอยากจะสื่อเท่านั้น โดยอาจจะใช้ทั้งการซูมหรือการครอป (Crop) บางส่วนออกเพื่อให้รูปภาพ Screenshot ของเรามีศิลปะ

 

รูปจากเว็บไซต์ fransboum

 

Scale

เป็นการทำกลับด้านกันจากด้านบน โดยคราวนี้เราจะถอยตัวเราเองออกมาเพื่อให้ภาพที่ถ่ายออกมาเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุด ซึ่งภาพถ่ายแบบนี้เหมาะกับการที่เราจะถ่ายรูปในลักษณะของวิวหรือภาพของเมืองในเกมต่าง ๆ

 

รูปจากเกม Star Wars: battlefront 2 จากคุณ Larah Johnson ใน flickr

 

Depth of field

Depth of field หรือ DOF เป็นการพูดถึงเกี่ยวกับระยะความลึกและความตื้นของภาพ โดยการใส่ DOF เข้าไปในภาพจะทำให้ภาพในเกมของเรามีมิติและสวยงาม ซึ่งอันนี้หากเกมไหนมีให้ปรับนับว่าดีมากแต่หากไม่มีเราอาจจะต้องใช้โปรแกรมแต่งรูปเข้ามาช่วยให้เกิดความชัดของ DOF

 

รูปจากเว็บไซต์ fransboum

 

Portraits

Portraits หรือภาพถ่ายส่วนบุคคลเป็นเหมือนกับการถ่ายภาพแบบ DOF แต่เราจะเน้นไปยังตัวละครของเรา โดยเราจะเน้นส่วนไหนขององค์ประกอบไหนของภาพก็ได้แต่เราจะเน้นไปที่ตัวละครของเราและตัวสิ่งต่าง ๆ ที่รบกวนสายตาออกไป เพื่อให้ตัวละครของเราเด่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

รูปจากเว็บไซต์ fransboum

 

Exposure

Exposure เป็นเสมือนกับการรับแสงของภาพที่ในบางครั้ง ภาพในเกมมีความมืดเกินไปทำให้เราไม่สามารถที่จะนำเสนอภาพของเกมได้ตามต้องการ จึงต้องมีการนำเอา Exposure มาใช้เพื่อจัดแสงของรูปภาพโดยเฉพาะการจัดที่มาของแสงให้เหมาะสมรวมถึงการเลือกเวลาในการถ่ายภาพเพราะแดดในช่วงเวลาต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน

Filters

Filters (ฟิลเตอร์) แม้ว่าปัจจุบันเกมต่าง ๆ จะมีฟิลเตอร์ต่าง ๆ ให้เราได้ใช้ตั้งแต่การเปลี่ยนภาพเป็นขาวดำไปจนถึงการเปลี่ยนภาพให้กลายเป็นเหมือนกับภาพยนตร์ยุคแอนนาล็อค แต่ว่าในบางเกมนั้นฟิลเตอร์ของเกมทำให้ภาพที่ถ่ายในเกมมีสีสันมากขึ้นหรือเข้ากับฉากมากขึ้น ทำให้เราสามารถมาปรับปรุงตรงส่วนนี้ได้

Post-processing

ภาพ Screenshot ก็เหมือนกับภาพถ่ายในชีวิตจริงที่หากเราอยากให้สวยจะต้องมีการแต่งภาพ โดยอันนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดแต่ละคนเลยว่าจะใช้โปรแกรมอะไรทั้ง Photoshop , Lightroom ,Skylum Luminar และ ฯลฯ อีกมากมาย

สรุปแล้วการถ่ายรูปในเกมก็เหมือนกับการถ่ายรูปในชีวิตจริง ที่เราจะต้องจัดองค์ประกอบ หามุมที่เหมาะสม จัดแสงสีให้เข้ากันได้แล้วเราจะได้ภาพในเกมที่ไม่เหมือนใครและเป็นความภาคภูมิใจของเราเอง

 

0 item total: 0 บาท